Diary no.5

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 14.30 - 17.30


บทที่ 4
กระบวนการใช้สื่อประกอบการเรียนรู้
          การเล่นในขั้นที่เด็กสามารถเข้าไปเล่นรวมกลุ่มกับผู้อื่นได้ โดยเริ่มจากกลุ่มเล็ก ๆ ไปสู่การเล่นกับเพื่อนเป็นกลุ่มใหญ่ และมีพฤติกรรมอย่างง่ายๆ ครูสามารถพัฒนาและจัดการเล่นในลักษณะที่สูงขึ้นนี้ได้โดยการให้เด็กเล่นเกมชนิดต่าง ๆ
เกม (Games)
          สำหรับเกมในทรรศนะของนักการศึกษาปฐมวัย ได้อธิบายว่า เกม เป็นการเล่นชนิดหนึ่งของเด็ก ซึ่งเกมจะเป็นเครื่องจูงใจเพื่อนำเด็กไปสู่การเรียนรู้อย่างสนุกสนาน และพึงพอใจ และเกมสำหรับเด็กนั้นไม่มุ่งเน้นในเรื่องของการแข่งขันหรือการหาผู้ที่ชนะ
จุดมุ่งหมายของการเล่นเกม
     1. ได้รับความเพลิดเพลินสนุกสนาน
     2. พัฒนานิสัยการเล่นที่ดีและมีน้ำใจเป็นนักกีฬา
     3. ฝึกท่าทางให้มีสุขภาพและรูปทรงสวยงาม
     4. เร้าประสาทรับรู้ให้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา
     5. สร้างความเชื่อมั่นและการบังคับตนเอง
     6. ฝึกความร่วมมือในฐานะเป็นสมาชิกของกลุ่ม
เกมการเล่น
     1. เกมช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางกาย
     2. เกมช่วยพัฒนาทักษะกลไกในการเคลื่อนไหว
     3. เกมช่วยสนับสนุนให้เด็กมีวุฒิภาวะทางอารมณ์
     4. เกมช่วยในการปรับตัวทางสังคม
     5. เกมช่วยพัฒนาด้านการรับรู้ การคิด การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ
แนวคิดการจัดเกม
1 .เกณฑ์การเลือกเกม
      - ต้องพิจารณาว่าเกมนั้น ๆ จะส่งเสริมพัฒนาการเด็กในด้านใด
      - เกมที่นำมาให้เด็กเล่นนั้นจะต้องช่วยส่งเสริมให้เด็กได้มีการเคลื่อนไหว
      - เกมที่ดีจะต้องเป็นเกมที่เด็กสนใจ
      - เกมที่ให้แด็กเล่นจะเป็นพื้นฐานสำหรับการฝึกทักษะ
      - ช่วยเด็กให้เกิดมีทักษะด้านต่าง ๆ เช่นทักษะ การเคลื่อนไหว ทักษะการสังเกตทักษะการเรียบเทียบ
      - เกมที่เล่นนั้นควรจะเป็นเกมที่เด็กสามารถนำไปเล่นซ้ำๆ
      - เกมที่ดีต้องเป็นเกมที่ช่วยส่งเสริมหรือพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม
2. การวางแผนการเล่นเกม
3. วิธีดำเนินการให้เด็กเล่นเกม
4. การสอนเกมลักษณะต่างๆ
      - เกมวงกลม
      - เกมกลุ่มเด็กเล็ก
      - การเล่นเป็นทีม
เกมการศึกษา
          หมายถึง สื่อการเรียน ที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่าง ๆ จากการเล่นโดยมีกฎเกณฑ์หรือกติกา จะเป็นพื้นฐานการเตรียมความพร้อมโดยเป็นการเล่นที่ไม่มุ่งเน้นเฉพาะเกมบัตรภาพ แต่เป็นเกมหลายรูปแบบที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาได้แก่ ด้านภาษา คณิตศาสตร์ เหตุผล มิติสัมพันธ์ ประสาทสัมผัสการับรู้และการจำ ตอลดจนความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
          เกมการศึกษา (Didactic of Cognitive Game) สำหรับเด็กปฐมวัยนั้น เป็นกิจกรรมการเล่นตามแนวทฤษฏี (The Cognitive Theory of play) เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญต่อการฝึกทักษะ เพราะจะช่วยให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนมีการสังเกตและคิดหาเหตุผลที่ดี
เกมการศึกษา (Didactic of Cognitive Game)สำหรับเด็กปฐมวัยนั้น เป็นกิจกรรมการเล่นตามแนวทฤษฏี (The Cognitive Theory of play) เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญต่อการฝึกทักษะ เพราะจะช่วยให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนมีการสังเกตและคิดหาเหตุผลที่ดี
วัตถุประสงค์ของเกมการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน (2537, หน้า 129)
1. เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักการสังเกตและการจำแนกด้วยสายตา
2. เพื่อฝึกการคิดหาเหตุผล
3. เพื่อฝึกการตัดสินใจในการแก้ปัญหา
4. เพื่อฝึกประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
5. เพื่อฝึกให้มีคุณธรรมต่าง ๆ
6. เพื่อทบทวนเนื้อหาที่เรียนไปแล้ว
ประเภทของเกมการศึกษา
1. เกมการจับคู่
     - สิ่งที่เหมือนกัน
     - สิ่งที่สัมพันธ์กัน
     - สิ่งที่เป็นของประเภทเดียวกัน
     - สิ่งที่ขาดหายไป
2. เกมการจัดหมวดหมู่
3. เกมภาพตัดต่อ
4. เกมเรียงลำดับภาพหรือภาพต่อเนื่อง
     - เรียงลำดับเหตุการณ์
     - เรียงลำดับขนาด
     - เรียงลำดับจำนวน
5. เกมโดมิโนหรือเกมต่อภาพเหมือน
6. เกมตารางสัมพันธ์
7. เกมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
8. เกมลอตโต
หลักการใช้เกมการศึกษา
           การใช้เกมการศึกษาควรลำดับเกมตามความสามารถ เริ่มจากสิ่งที่ไม่ละเอียดนักเพราะเด็กจะสังเกตสิ่งที่ใหญ่ก่อน เมื่อเด็กมีความสังเกตจดจำมากแล้ว จึงจะให้เด็กได้สังเกตส่วนย่อย ๆ หรือส่วนละเอียดมากขึ้นตามลำดับ
ลักษณะที่ดีของเกมการศึกษา
          เกมการศึกษาเป็นเครื่องมือที่จะช่วยถ่ายทอด นำความรู้ ประสบการณ์ด้านการเรียนสู่ผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการเลือกใช้เกมการศึกษาเป็นเรื่องประณีตละเอียดอ่อน
     1. ไม่จำเป็นต้องมีการตระเตรียมกันมาล่วงหน้า หรือถ้ามีก็ควรให้น้อยที่สุด
     2. เป็นเกมที่ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน และมีลักษณะท้าทายความสามารถของเด็ก
     3. มีคำสั่งและกติกาในการเล่นชัดเจน
     4. เป็นเกมสั้น ๆ ไม่ควรใช้เวลาเกิน 15 นาที
     5. เป็นเกมที่ให้ทั้งความสนุกสนาน ร่าเริง แลได้รับความรู้หรือทักษะ
     6. เป็นเกมที่ไม่ทำให้เสียวินัยในห้องเรียน
     7. เป็นเกมที่เล่นเป็นทีม หรือเป็นเกมที่ไม่เกิดความกังวลเกี่ยวกับผู้ชนะ
     8. เป็นเกมที่เด็กได้มีการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายบ่างตามสมควร
     9. ถ้าเป็นการแข่งขัน ควรที่จะง่ายในการตรวจสอบและการตัดสินใจให้คะแนน
    10. ควรใช้อุปกรณ์ที่สามารถประดิษฐ์ขึ้นเองได้ง่าย ๆ
ประโยชน์ของเกมการศึกษา
          เกมการศึกษาช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดีและสามารถจดจำได้ยาวนาน สามารถทำ ให้เด็กที่เรียนอ่อนหรือเรียนช้าพัฒนาการเรียนดีขึ้นช่วยให้เด็กมีความสามารถในการแก้ปัญหา และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นอกจากจะได้รับความสนุกสนานแล้ว เด็กยังมีโอกาสแสวงหาความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองนับว่าเกมการศึกษาเป็นนวัตกรรมที่มีความจำ
ลักษณะสื่อ 
1. เกมจับคู่ 
          เป็นการจัดของคู่ ๆ ตามจุดมุ่งหมายของเกมแต่ละชุดๆ ละตั้งแต่ 5 คู่ขึ้นไป อาจเป็นการจับคู่ภาพ หรือวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆก็ได้ เกมประเภทนี้สามารถจัดได้หลายชนิด ได้แก่
     1. การจับคู่สิ่งที่เหมือนกัน
     2. การจับคู่สิ่งที่เป็นประเภทเดียวกัน
     3. การจับคู่สิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน
     4. การจับคู่สิ่งที่สัมพันธ์แบบตรงกันข้าม
     5. การจับคู่ภาพเต็มกับภาพชิ้นส่วนที่หายไป
     6. การจับคู่ภาพที่ซ้อนกัน
     7. การจับคู่ภาพที่เป็นส่วนตัดกับภาพใหญ่
     8. การจับคู่สิ่งที่เหมือนกันแต่สีต่างกัน
     9. การจับคู่สีเหมือนกันแต่ของต่างกัน
     10. การจับคู่สิ่งที่เหมือนกันแต่ขนาดต่างกัน
     11. การจับคู่ภาพที่มีเสียงสระเหมือนกัน
     12. การจับคู่ภาพที่เสียงพยัญชนะต้นเหมือนกัน
     13. การจับคู่แบบอุปมาอุปไมย
     14. การจับคู่แบบอนุกรม
2. เกมภาพตัดต่อ
 
     1. ภาพตัดต่อเกี่ยวกับ คน สัตว์ พืช ผัก ผลไม้ดอกไม้ สิ่งของ พาหนะ ตัวเลข ค่าของจำนวน
     2. ภาพตัดต่อที่สัมพันธ์กับหน่วยการสอน
3. เกมการวางภาพต่อปลาย (โดมิโน) 
     1. โดมิโน ภาพเหมือน
     2. เกมโดมิโนภาพสัมพันธ์
4. เกมเรียงลำดับ
           เกมประเภทนี้มีลักษณะเป็นภาพสิ่งของ เรื่องราว เหตุการณ์ ตั้งแต่ 3 ภาพขึ้นไป
      1. การเรียงลำดับภาพและเหตุการณ์ต่อเนื่อง
      2. การเรียงลำดับ ขนาด ความยาว ปริมาณปริมาตร จำนวน
5. เกมจัดหมวดหมู่
         
           เกมประเภทนี้มีลักษณะเป็นแผ่ภาพ หรือของจริงประเภทสิ่งของต่างๆ
      1. ภาพสิ่งต่าง ๆ ที่นำมาจัดเป็นพวก ๆ ตามความคิดของเด็ก ที่มีจำนวนตั้งแต่ 4 ชิ้นขึ้นไป
      2. วัสดุของจริง ซึ่งอาจมีจำนวนตั้งแต่ 4 ชิ้นขึ้นไป
6. เกมหาความสัมพันธ์ระหว่างภาพกับสัญลักษณ์

7. เกมหาภาพที่มีความสัมพันธ์ตามลำดับที่กำหนด
8. เกมสังเกตรายละเอียดของภาพ (ลอตโต)
9. เกมหาความสัมพันธ์แบบอุปมาอุปไมย
10. เกมพื้นฐานการบวก

11. เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์ (เมตริกเกม)


ที่มา : เอกสารการสอน โดยอาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
เรียบเรียง : นางสาวนพเก้า โมลาขาว นักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย

ความรู้ที่ได้รับ
             ได้รู้ถึงประโยชของเกมส์การศึกษาว่ามีดีอย่างไร และได้รู้ถึงเกมการศึกษาแต่ละอย่างว่ามีอะไรบ้าง ทำให้เรานำไปปรับใช้กับเด็กได้และพัฒนาสติปัญญาในตัวเด็กโดยใช้เกมได้อย่างตรงจุด
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 
1. ทำให้เรารู้ และเข้าใจถึงสื่อที่ใช้ในเกมการศึกษามากขึ้น
2. เมื่อเรารู้และเข้าใจแล้ว ในฐานะที่เราเป็นครูปฐมวัยเราต้องจัดกิจกรรมและสามารถสร้างสื่อ รวมถึงใช้สื่อกับเด็กปฐมวัยได้          
การประเมินผล
1. ตนเอง : ตั้งใจเย็น จดความรู้
2. เพื่อน : ตั้งใจเรียน สนุกกับสิ่งที่อาจารย์สอน
3. อาจารย์ : สอนดี ชอบที่อาจารย์เล่นมุกในเวลาเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น